วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีตัดขนสุนัข

ทำไมเวลาเราตัดขน หรือตัดเล็บให้น้องหมา เขามักจะมีพฤติกรรมต่อต้านเราเสมอ น้องหมาบางตัวแค่เห็นเจ้าของหยิบกรรไกรตัดขนก็จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เห่า ขู่ แยกเขี้ยวใส่ ทั้งๆ ที่เจ้าของยังไม่ได้ลงมือตัดขนเขาเลยสักนิด

     บางคนประเมินสถานการณ์จากพฤติกรรมน้องหมาของตัวเองแล้วว่า เห็นทีปฏิบัติการกรูมมิ่งน้องหมาด้วยตัวเองคงจะไม่สำเร็จแน่ๆ ก็เลยแก้ปัญหาด้วยการพาน้องหมาไปส่งร้านกรูมมิ่งเลยดีกว่า เพราะคิดว่ายังไงเสีย ความเป็นมืออาชีพของช่างที่ร้านก็จัดการกับความดื้อของน้องหมาได้ คิดว่า ช่างเขาจะ "เอาอยู่" ว่างั้นเถอะ

     เอาอยู่รึเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ บางครั้งที่เราคิดว่าส่งน้องหมาถึงร้านกรูมมิ่งแล้วเราก็แค่นั่งรอเวลารับเขากลับบ้าน ในสภาพตัวหอม ขนสวย บางทีเบื้องหลังมันอาจจะไม่ได้สวยงามอย่างที่เราเห็นก็ได้นะคะ




     เพราะถ้าหากเราเลือกร้านกรูมมิ่งไม่ดี บางทีน้องหมาของเราก็อาจจะมี "เจ็บตัว" บ้างเหมือนกัน ก็ลองคิดดูสิคะว่า ขนาดเราเองเป็นเจ้าของ เรายังเอือมระอากับนิสัยดื้อๆ ของเจ้าตัวแสบเลย แล้วช่างที่ร้านล่ะค่ะ บางทีเขาอาจจะไม่อดทนกับนิสัยดื้อของน้องหมาของเราก็ได้ (หมดความอดทนก็อาจจะซัดให้ซักทีสองที ... ดิ้นนักตัดขนพลาด กรรไกรเข้าเนื้อได้เลือดอีก

     ก่อนพากลับจากร้านกรูมมิ่งเราอาจต้องเช็คสภาพน้องหมาของเราก่อนว่า อยู่ดีมีสุขเหมือนตอนเราพามาหรือเปล่า ... บางทีกว่าจะหาร้านกรูมมิ่งดีๆ ที่มีช่างใจเย็นและฝีมือถูกใจได้ ก็ยากพอๆ กับเลือกซื้อล็อตเตอรี่ให้ถูกเลยนะคะเนี่ย

     ถ้าจะต้องเสี่ยงกันขนาดนี้ บางทีการที่เราหาวิธีจัดการกับพฤติกรรมต่อต้านของน้องหมา อาจจะเป็นทางออกที่ดีกว่าก็ได้นะคะ

ทำไมน้องหมาถึงต่อต้านการกรูมมิ่ง?




     ก่อนอื่นคือ เราต้องทราบก่อนว่า การที่น้องหมาไม่ยอมให้เราตัดขน หรือตัดเล็บ และมีพฤติกรรมต่อต้านก้าวร้าวใส่เรานั้น เกิดจากการที่เขาคิดว่าเขามีอำนาจเหนือกว่าเจ้าของ และวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูง ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะไม่ยอมนอนลงให้เราตัดขน ตัดเล็บง่ายๆ แน่นอน

     ปัญหานี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากๆ สำหรับคนเลี้ยงน้องหมา เพราะถ้าหากปล่อยให้เขาแสดงอำนาจความเป็นจ่าฝูงอย่างเต็มที่แล้ว ต่อไปในระยะยาวเราก็จะไม่สามารถสั่งให้ขาทำตามคำสังของเราได้

     ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาน้องหมาต่อต้านการกรูมมิ่งแล้วล่ะก็ มีวิธีเดียวสั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความนั่นก็คือ "หักดิบ" เสียเลย!!!

     ฟังดูอาจจะโหดๆ ไปสักหน่อย แต่ถ้าต้องการจะควบคุมเขาเราจะต้องใจแข็ง ท่องจำให้ขึ้นใจนะคะว่า "เราเป็นเจ้าของ เป็นเจ้านาย เพราะฉะนั้นน้องหมาจะต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของเราเท่านั้น"


เริ่มต้นการปรับพฤติกรรมต่อต้านของสุนัข ด้วยการปรับพฤติกรรมของผู้เลี้ยง



     สิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องทำเป็นสิ่งแรกคือ ปรับภาวะอารมณ์ของตัวเองให้มั่นคง และสงบนิ่ง อย่านำประสบการณ์ที่ไม่ดีมาเป็นอุปสรรคในการปรับพฤติกรรมของสุนัข อย่างเช่น น้องหมาขู่หรือแยกเขี้ยวใส่เราเวลาเราจะตัดขนให้เขา วันนี้ถ้าเราตัดขนให้เขาอีก เราอาจจะโดนกัดก็ได้

     การคิดแบบนี้จะทำให้เราเกิดความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าตัดสินใจ และเมื่อเราอยู่ในภาวะที่มีอารมณ์ไม่มั่นคงแบบนี้ น้องหมาจะรับรู้ได้ทันทีว่าเรากำลังกลัวและกังวล เราจะกลายเป็นเหยื่อของเรา และเขาจะแสดงพฤติกรรมข่มเราทันที

     ตามธรรมชาติแล้วภาวะความกลัวมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นเหยื่อ ดังนั้นเมื่อน้องหมารู้สึกได้ว่าเราคือเหยื่อ เขาก็จะไล่ล่าทันที เช่น เมื่อน้องหมาขู่ เรากลัวและชักมือหนี พฤติกรรมแบบนี้จะกระตุ้นให้เกิดการล่า สุนัขจะไล่งับมือเรา เพราะรู้ว่านั่นคือจุดอ่อน และถ้าหากเรายิ่งกลัว น้องหมาก็จะจดจำและทำพฤติกรรมแบบนี้เพื่อข่มเราเสมอ

     ในการทำกรูมมิ่งแต่ละครั้ง หากน้องหมาเริ่มมีอาการขัดขืนให้ผู้เลี้ยงใช้คำสั่ง "หยุด" หรือ "อย่า" โดยโทนเสียงที่ใช้ในการออกคำสั่งต้องเป็นโทนเสียงทุ้มต่ำ แต่ต้องดังเพื่อให้น้องหมาหยุดและฟังคำสั่ง ... จำไว้นะคะว่า เราจะใจอ่อนไม่ได้เด็ดขาด การที่จะทำให้น้องหมาเชื่อฟังเราได้นั้น การพูดปลอบหรือโอ๋น้องหมาจะยิ่งทำให้น้องหมาไม่ฟังคำสั่งของผู้เลี้ยง


รู้จักวิธีการผ่อนคลายความกังวลให้สุนัข

     ถึงแม้เราจะใช้วิธีหักดิบกับน้องหมาเพื่อให้เขาอยู่ภายใต้คำสั่งของเรา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะใช้วิธีที่รุนแรงกับเขา ... การผ่อนคลายความรู้สึกเครียดก่อนการกรูมมิ่งให้น้องหมาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้น้องหมาสงบและลดพฤติกรรมก้าวร้าวลงได้

     โดยผู้เลี้ยงอาจจะเริ่มจากการให้ขนมหรือชวนเขาเล่นของเล่นเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เมื่อน้องหมารู้สึกวางใจเรา ให้เราค่อยๆ ใช้มือข้างที่ถนัดกดเบาๆ บริเวณสะโพกของน้องหมา เพื่อให้เขายอมนั่งลงอย่างสงบ เมื่อเขาสงบแล้วให้เราเอ่ยชม เช่น "ดี" หรือ "ดีมาก" จากนั้นอาจให้รางวัลเป็นขนมที่เขาชอบ

     น้องหมาจะเรียนรู้ที่จะสงบ และอยู่นิ่งๆ เพื่อรอรับขนม ให้ผู้เลี้ยงค่อยๆ เพิ่มตัดขน ตัดเล็บ อย่างจริงจังขึ้น ถ้าหากน้องหมามีพฤติกรรมต่อต้านหรือเริ่มอยู่ไม่เฉย ให้ผู้เลี้ยงค่อยๆ หยุดการตัดขน ตัดเล็บ รอให้น้องหมากลับมาสงบอีกครั้ง แล้วจึงให้ขนมเพื่อเป็นรางวัล



     อีกปัญหาหนึ่งที่พบคือ น้องหมามักจะมีอาการกลัวกรรไกรตัดเล็บ กรรไกรตัดขน (น้องหมาอาจจะรู้สึกไม่ชอบเสียงกรรไกรเวลาตัดขน) วิธีการจัดการกับปัญหานี้ เราอาจทำให้โดยให้น้องหมานอนลง ค่อยๆ ลูบบริเวณด้านข้างลำตัวเพื่อให้น้องหมาผ่อนคลาย จากนั้นใช้ผ้าวางปิดบริเวณดวงตาของน้องหมา เพื่อไม่ให้เขาเห็นว่าเรากำลังใช้อุปกรณ์ที่เขาไม่ชอบอยู่ วิธีนี้เราอาจจะต้องมีผู้ช่วยในการจับตัวน้องหมาเอาไว้นะคะ

     ค่อยๆ ตัดอย่างเบามือ เพื่อไม่ให้น้องหมารู้สึกกังวล ... วิธีนี้ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และทำทุกครั้งที่เราจะทำการกรูมมิ่งน้องหมา น้องหมาจะค่อยๆ เรียนรู้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ไม่เป็นอันตราย และรู้สึกไว้ใจผู้เลี้ยงมากขึ้นค่ะ


     การฝึกให้น้องหมาคุ้นเคยกับการกรูมมิ่ง ตัดขน ตัดเล็บ อาจเป็นการปรับพฤติกรรมที่ต้องใช้เวลา และความอดทนค่อนข้างสูง ผู้เลี้ยงต้องใจเย็นๆ และมุ่งมั่นในการฝึกและปรับพฤติกรรมให้น้องหมาอย่างสม่ำเสมอนะคะ เชื่อเถอะค่ะว่า สุดท้ายแล้วจะเป็นผลดีต่อพฤติกรรมของน้องหมาของเราในระยะยาว

สอบถาม ปัญหาหมาได้ที่  http://www.ฝึกหมา.com , http://www.ฝึกสุนัข.com หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่( www.xn--12cc2eo0ezb5as.com , www.xn--12c9cn3bxbu.com http://xn--12c9cn3bxbu.blogspot.com,http://xn--22c9ba8aeyte4cpgc3fulsa8d.blogspot.com , http://xn--22cj8c5aib4c1c3cwei.blogspot.com , http://xn--12cc2eo0ezbd4c.blogspot.com , http://xn--m3ceurwq3c6h7d.blogspot.com ,http://xn--22c9bxa0bdn4a6c.blogspot.com , http://xn--12cco6era5au6bzdd9a2b0g2f.blogspot.com , http://xn--22ca6cdwa2j4bf2e.blogspot.com , http://xn--22c9acs4b7cwbn.blogspot.comhttp://xn--22cm2bo6cyaq1dl9czo.blogspot.com ,http://k9trianingdog.blogspot.com )